วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ข่าว IT ที่ 3
โดย นสพ.ไทยรัฐ ปีที่ 58 ฉบับที่ 18191 วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤศจิกายน 2550
ไทย จับมือ ญี่ปุ่น หวังดันมาตรฐานโอ เพนซอร์สขึ้นสู่สากล
ผู้สื่อข่าวรายงานวานนี้ (8 พ.ย.) ถึงบรรยากาศงานเอเชีย โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์ คอนเฟอเร้นท์ แอนด์ โชวเคส 2007 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ชั้น 5 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว วันสุดท้ายว่า บรรยากาศยังเป็นไปด้วยความคึกคักทั้งในส่วนของการออกร้านทางธุรกิจ และการสัมมนาที่แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของภาคธุรกิจ ที่มีวิทยากรสำคัญจากต่างประเทศมาร่วมบรรยาย และส่วนของการการถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้พัฒนา

นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ในฐานะผู้ร่วมจัดงาน กล่าวถึงกิจกรรมสำคัญในงานครั้งนี้ ว่า นอกเหนือจากแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานโอเพนซอร์สภูมิภาคเอเชียแล้ว ยังมีการประชุมแบบปิดและการเจรจาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมของศูนย์โอเพนซอร์สที่จัดตั้งในประเทศต่างๆ

ผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ประเทศไทยในนามเครือข่ายซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในภูมิภาคเอเชียยังได้ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ ไอพีเอ ที่เป็นสถาบันวิจัยภาครัฐที่พัฒนาและส่งเสริมการใช้โอเพนสแตนดาร์ดและโอเพนซอร์ส โดยไทยจะได้ข้อมูลการทดสอบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ด้านโอเพนซอร์สที่ไอพีเอดำเนินการอยู่เพื่อนำมาเผยแพร่ให้กับนักวิจัยและนักพัฒนาโอเพนซอร์สในไทย ที่จะนำไปต่อยอดพัฒนาได้ รวมทั้งเป็นฐานข้อมูลการเลือกใช้สินค้าและบริการด้านโอเพนซอร์ส ที่ได้รับการทดสอบแล้วใช้งานได้ตรงกับความต้องการของญี่ปุ่น

ด้านนายวิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช รักษาการผู้อำนวยการโครงการโปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์ เพื่อสารสนเทศและอุปกรณ์เคลื่อนที่ เนคเทค กล่าวว่า ในงานครั้งนี้ เครือข่ายโอเพนซอร์สได้มีความเห็นร่วมกันที่จะทำหน้าที่ทดสอบการใช้งานโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ ที่ทำงานบนแพลทฟอร์มของฮาร์ดแวร์ต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานว่า ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส สามารถรองรับงานประมวลผลประสิทธิภาพสูงได้มากน้อยเพียงใดและมีข้อจำกัดในการใช้งานในด้านใดบ้าง

“นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างจัดทำฐานข้อมูลของบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส และบริษัทผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องโอเพนซอร์ส ที่จะรวบรวมเข้ามาเป็นไดเร็คทอรี่ ไว้ในเว็บไซต์ www.ossn.or.th รวมถึงผลักดันให้มีการเรียนการสอนหลักสูตรการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ในสถาบันการศึกษา และเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ ด้วยการจัดทำหลักสูตรมาตรฐานที่ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส” รักษาการผู้อำนวยการโครงการโปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์ เพื่อสารสนเทศและอุปกรณ์เคลื่อนที่ เนคเทค กล่าว

นายวิรัช กล่าวต่อว่า บริษัท การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยไอทีระดับโลก มีข้อมูลระบุว่า โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์กำลังกลายเป็นส่วนสำคัญที่จำเป็นต่อการสร้างโครงสร้างพื้นฐานไอทีของเอเชีย และคาดว่า มากกว่า 60% ของหน่วยงานรัฐ ทั้งระดับกลางและระดับใหญ่ในภูมิภาคนี้ จะใช้โอเพนซอร์สเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่สำคัญอย่างยิ่งยวดในด้านโอเปอเรชั่นของรัฐ ภายในปี 2553 และโอเพนซอร์สยังช่วยลดต้นทุนการนำเข้าซอฟต์แวร์ระบบปิด ดังนั้น การพัฒนาโอเพนซอร์สจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ การศึกษาและภาคเอกชน เพื่อให้ดำเนินการได้สำเร็จอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
บทที่ 2
วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์
มีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย
การรับข้อมูล การประมวลผล การแสดงผล และการจัดเก็บข้อมูล หรือที่เรียกย่อๆ ว่า IPOS Cycle (Input Process Output Storage Cycle)
1. รับข้อมูล (Input) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น เมาส์ Mouse สแกนเนอร์ (Scanner) ไมโครโฟน (Microphone) และกล้องดิจิทัล (Digital Camera) เป็นต้น
2. ประมวลผล (Process) เช่น การคำนวณ ภาษี คำนวณเกรดเฉลี่ย
3. แสดงผล (Output) การที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล ซึ่งอุปกรณ์ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์
4. จัดเก็บข้อมูล (Storage) คือการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดีรอม

ประเภทของคอมพิวเตอร์
โดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภทคอมพิวเตอร์เป็น 7 ประเภท
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด มีราคาสูงมาก สามารถประมวลผลได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที ปัจจุบันมีการนำไปใช้กับงานออกแบบชิ้นส่วนรถ งานวิเคราะห์สินค้าคงคลัง การออกแบบงานด้านศิลปะ ฯลฯ
2. คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer) มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้จำนวนมากในเวลาเดียวกัน เช่น ธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน บริษัทประกัน
3. มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer) หรือเรียกว่า Mid-rang Computer/Sever มีประสิทธิภาพด้านความเร็วน้อยกว่าเมนเฟรม สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลายคน ตัวอย่างการใช้งานเช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม การจองห้องพักโรงแรม งานด้านการบัญชีขององค์การธุรกิจ
4. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือที่เรียกกันว่า PC (Personal Coomputer)
5. คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค หรือบางครั้งเรียกว่า แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) เป็นคอมฯ ที่มีขนาดเล็ก บาง และนำหนักเบา เหมาะแก่การพกพา ใช้กับไฟฟ้ามาตรฐานทั่วไป และแบตเตอรี่
6. Hand-held Personal Computer หรือ Palmtop Computer เป็นคอมฯ ที่มีขนาดเล็กที่สุด หรือที่เรียกกันว่า PDA (Personal Digital Assistant)
7. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) นิยมนำมาใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ ตู้ร้องคาราโอเกะ

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ (Hardware)
โดยทั่วไปหมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบหลัก 6 ส่วนคือ
1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือ ซีพียู (CPU)
3. หน่วยความจำ (Memory)
4. อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices)
5. อุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Devices)
6. อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Storage Devices)
การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เหมาะสมต่อการใช้งานในองค์การมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ผู้บริหารจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เกิดการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งในการจัดการกับทรัพยากรไอทีด้านฮาร์ดแวร์นั้นมีประเด็นในการพิจารณาดังนี้
1. จัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่งขันของธุรกิจ
2. กำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์
3. จัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
มีหน้าที่ในการควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ตามผลลัพธ์ที่ต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 2 ประเภท
- ระบบปฏิบัติการ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส , ลีนุกซ์, windows 98, ME, XP, Vista
- โปรแกรมอรรถประโยชน์ เช่น โปรแกรม Disk Defragmenter , Virus Scan, WinZip
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะงานต่างๆ ขององค์การ และมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูง เช่น Microsoft word, power point, Adobe Photoshop, Adobe Pagemaker ฯลฯ

ภาษาโปรแกรม
สามารถแบ่งเป็น 5 ยุคได้ดังนี้
1. ภาษาเครื่อง คือ ภาษาที่ประกอบด้วยเลขฐานสอง (Binary Digits หรือ bits) คือ เลข 0 กับ 1
2. ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language) เป็นการใช้สัญลักษณ์แทนภาษาเครื่อง 0 กับ 1 เช่น PRICE แทนตำแหน่งที่เป็นที่อยู่ของ unit price ซึ่งเดิมเป็นตัวเลข 11001011
3. ภาษาระดับสูง (High-level Languages) หรือภาษาโพรซีเยอร์ เป็นคำสั่งลักษณะเหมือนภาษาอังกฤษ เช่น add แทน คำสั่ง บวก print แทน คำสั่ง พิมพ์ ฯลฯ
4. ภาษาระดับสูงมาก (Very High-level Languages) แตกต่างจากยุคที่สาม โดยไม่ใช้ภาษาโพรซีเยอร์ โดยเพียงเขียนโปรแกรมส่งว่าต้องการอะไร (what) โดยไม่เขียนคำสั่งอธิบายว่าต้องทำอย่างไร (how) จึงเป็นการง่ายกว่าเขียนภาษาในยุคที่สาม (ก็งง..!)
5. ภาษาธรรมชาติ เป็นคำพูดของภาษามนุษย์เป็นโครงสร้างของภาษาอังกฤษ เช่น select first_n, last_n from student where gpa>3.0 แต่เป็นภาษาธรรมชาติ คือ tell me he names of students with gpa over 3.0 ส่วนมากนำไปใช้ประยุกต์กับระบบ ผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)

วิเคราะห์กรณีศึกษา
คำถามข้อที่ 1
- ไม่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการสั่งก๋วยเตี๋ยวของลูกค้า
- คิดเงินให้ลูกค้าได้สะดวก รวดเร็วและไม่เกิดข้อผิดพลาด
- ทางร้านสามารถตรวจสอบยอดขายของแต่ละวันได้อย่างสะดวกและรวดเร็วช่วย
- ให้ร้านมีความรวดเร็วมากขึ้น
- ทำให้เกิดความแม่นยำตรงตาเมนู
- ทำให้เกิดทั้งพ่อค้าและพ่อครัว
คำถามข้อที่ 2
- เครื่องพีดีเอมีราคาสูงเกินไปสำหรับร้านก๋วยเตี๋ยว
- พนักงานในร้านบางคนไม่สามารถใช้เครื่องพีดีเอได้โดยต้องเสียเวลาในการสอนให้กับพนักงาน
- หากเครื่องเกิดปัญหาก็จะส่งผลให้ทำงานได้ล่าช้า
คำถามข้อที่ 3
- ธุรกิจเกี่ยวกับการขายอะไหร่รถยนต์ เพราะ การสั่งของๆลูกค้านั้น ส่วนมากลูกค้าจะสั่งของเป็นจำนวนมากๆ ดังนั้นถ้าใช้การจดจำหรือการจดบันทึกที่มีประสิทธิภาพที่ไม่เพียงพอ อาจจะทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าไม่ครบจำนวนหรืออาจจะขาดๆเกิน จึงจะทำให้ลูกค้าไม่พอใจแล้วก็อาจจะไม่กลับมาซื้อของที่ร้านอีก เพราะฉะนั้นการที่นำพีดีเอเข้ามาใช้จะสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ไปได้อย่างดี
ข่าวIT ที่2
โดย นสพ.ไทยรัฐ ปีที่ 58 ฉบับที่ 18191 วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤศจิกายน 2550
“เหยื่อความโลภ” ภัยคุกคามความ ปลอดภัยบนโลกไซเบอร์
“ท่านเป็นผู้โชคดี ได้รับรางวัลแจ็คพ็อตจากบริษัท...มูลค่ากว่าล้านบาท แต่ท่านจะต้องโอนเงินค่าธรรมเนียม...บาท จึงจะสามารถรับรางวัลได้”

ข้อความแบบนี้มักปรากฎอยู่บนสแปมเมล์ทั่วไป ถ้าเป็นคนไม่สนใจก็มักจะลบทิ้ง แต่ก็มีหลายรายที่ไม่รู้และหลงกลตกเป็นเหยื่อ หรือแม้แต่การโทรศัพท์ไปอ้างว่า “คุณเป็นผู้โชคดีได้เงินรางวัล แต่จะโอนเงินให้ที่ตู้เอทีเอ็มโดยต้องกดปุ่ม ตามที่เจ้าหน้าที่บอก” ก็เห็นเป็นข่าวกันอยู่เสมอ

ภัยจากการหลอกลวง ออนไลน์ หรือการทำฟิชชิ่ง และฟาร์มมิ่ง ถือเป็นเรื่องที่ต้องหันมาใส่ใจ นอกจากการป้องกันไวรัส หรือมัลแวร์ และการเจาะระบบของแฮกเกอร์ เพราะถือเป็นเรื่องที่เข้ามาใกล้ตัวผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกคนมากที่สุด ไม่ได้จำกัดการคุกคามอยู่ที่ตามองค์กร หรือบริษัทใหญ่ๆ อีกต่อไป เนื่องจากผู้ใช้ทั่วไปมักจะหลอกง่ายกว่า ลงทุนน้อยกว่าแต่ได้ผลตอบแทนสูง จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่บริษัทด้านความปลอดภัย หรือ งานสัมมนาด้านความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ เกือบทุกแห่งต้องพูดถึงอยู่เสมอๆ

พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม เล่าถึงเหตุผลที่ต้องให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ว่า เพราะเรื่องนี้ไม่ได้มองเห็นด้วยตา ไม่เหมือนการเฝ้าบ้านป้องกันขโมย ตัวโปรแกรมซอฟต์แวร์ซื้อมาก็ใช้ไป แต่วันนี้เราใช้งานจนลืมเรื่องความปลอดภัย ไม่คิดว่าหากคนไม่ดีเข้ามา พยายามเจาะช่องว่างในโปรแกรม ขโมยข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ไป เปิดมาอีกที่ก็ขึ้นหน้าจอว่าโดนแฮก หรือว่างโล่งไปทั้งจอ หรือภัยจากโปรแกรมบ็อตเน็ต และสแปมเมล์ที่พูดกันมานานแล้ว ก็ยังมีระบาดทำให้คนเดือดร้อนมากขึ้น

ผบ.สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ดีเอสไอ ให้ความเห็นต่อว่า ขณะที่การออนไลน์ทั้งบนเว็บยุค 1.0 หรือ 2.0 แม้จะสะกดผิดแค่พยัญชนะตัวเดียวก็มีเว็บอื่นๆมารองรับ แถมยังมีคนใจดีหาโปรแกรมให้ดาวน์โหลดฟรีๆ อีกมีโปรแกรมช่วงลงรหัสผ่าน หรือมีโปรแกรมถอดรหัส คนส่วนมากไม่ค่อยคิดว่าจะมีคนอุตริทำโปรแกรมแบบนี้ก็มีจนได้ โดยการก่อการร้ายบนโลกไซเบอร์เวลานี้บรรยากาศเปลี่ยนไป จากที่แฮกเกอร์เคยแฮกเอาความสนุกสนาน เวลานี้ก็หันมาแฮกเพื่อเงิน และทรัพย์สินมากขึ้น เช่นการเรียกค่าไถ่ข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ อยู่ดีๆ ผู้ใช้งานก็เปิดไฟล์ไม่ได้ เหมือนจอดรถยนต์แล้วโดนล็อคล้อ เป็นต้น

พ.ต.อ.ญาณพล อธิบายว่า ตั้งแต่มี กฎหมายฯ นี้ก็มีเจ้าทุกข์หลายรายที่โตกเป็นเหยื่อ เข้ามาแจ้งความแล้ว ความจริงก่อนหน้านี้ สังคมอินเทอร์เน็ตเราก็อยู่กันแบบเถื่อนๆ เพราะไม่มีกฎ กติกามาควบคุม แต่พอมีบังคับใช้ขึ้นมาก็โวยวาย เวลานี้คนตื่นตัวกันมาก และคงต้องพูดกันอีกพอสมควรเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากปกติกฎหมายมักจะเกี่ยวข้องกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หากใครเอามือแตะคีย์บอร์ด ถือว่าเข้าข่ายหมด เชื่อว่า กฎหมายนี้จะช่วยถ่วงดุลให้กรณีพิพาทต่างๆ ถูกควบคุมดูแลมากขึ้น

“แม้แต่กรณีสกิมมิ่ง บัตรเครดิต หรือการดูดเอาข้อมูลจากบัตรเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็ออกมาประกาศแล้วว่า ให้ทุกธนาคารเข้ารหัสข้อมูลบัตรเครดิต หรือการหลอกลวงทางโทรศัพท์ให้เหยื่อไปกดตู้เอทีเอ็ม เป็นการหลอกลวงด้วยวิธีที่ใช้ตามประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก จึงมีหลายประเทศโดน โดยเฉพาะพี่น้องที่อยู่ทางภาคใต้โดนหลอกมากที่สุด ดังนั้น ดีเอสไอเองจึงขอความร่วมมือให้ทุกธนาคารทำ บรรยายไทยไปที่หน้าเมนูภาษาอังกฤษ กับตู้เอทีเอ็มทุกตู้เพื่อช่วยให้ประชาชนปลอดภัยมากขึ้น” ผบ.สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ดีเอสไอ กล่าว

พ.ต.อ.ญาณพล เล่าให้ฟังด้วยว่า ทำให้คิดกันว่าทำไมคนไทยถึงได้ถูกพวกมิจฉาชีพหลอกลวงได้มากขนาดนี้ ที่ผ่านมามีชาวบ้านแถวพุทธมลฑลโดนหลอกลวงเอาเงินไป 66 ล้านบาท เดินหน้ามืดมาแจ้งความ ก็ทำอะไรไม่ได้มาก เพราะตอนโดนใหม่ๆ อายไม่กล้าบอกใคร พอรู้ว่าโดนโกงไปก็ถึงกับเข่าอ่อน มีเหยื่อบางรายที่ภาคเหนือโดนหลอกไป 2 ล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายหนึ่งโดนหลอกไป 6 ล้านบาท ยังไม่รวมรายย่อยที่โดนหลอกเล็กๆ น้อยๆ อีก คนที่โดนหลอกส่วนมากจะมีการศึกษาดี มีอายุ หรืออยู่ในวัยเกษียณแล้ว สามารถโทรไปคุยกับฝรั่งได้ ส่วนคนที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษจะไม่ค่อยโดน เพราะเห็นเป็นภาษาอังกฤษจึงไม่สนใจเปิดอ่าน

ด้าน ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้ความเห็นว่า การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต ไม่เกี่ยวข้องกับการแฮก แต่อัตราความเสียหายมากเกินกว่า เพราะไม่ต้องพึ่งพาไวรัส แต่เป็นการหลอกลวงแบบ Social Attack เชื่อว่าคนที่โดนอีเมล์หลอกลวงว่า ถูกล็อตเตอรี หวยล็อตโต้ ผู้โชคดีรายการนั้น รายการนี้ ถ้าอยากรับรางวัลต้องส่งเงินค่าธรรมเนียมเท่านั้น เท่านี้ มีมากกว่า 10 ล้านคน แม้การหลอกลวงอัตราความสำเร็จจะมีแค่ 1% คือ เชื่อแล้วโอนเงินให้ แบบนี้ถือว่าเป็นอาชญากรรมข้างประเทศ ทุกคนไม่ควรหลงเชื่อ หรืออย่าเชื่อจดหมายลักษณะนี้ที่มาทางอินเทอร์เน็ต

“เหยื่อบางคนเก่งอ่านภาษาอังกฤษได้ ก็มีการโทรไปถาม สุดท้ายหลงเชื่อตกเป็นเหยื่ออีก เพราะเวลาคุยกับคอลล์เซ็นเตอร์พวกนี้ มักจะหลอกถามข้อมูลส่วนตัว ดังนั้น แม้เขาจะส่งอีเมล์มาหลายรอบก็อย่าไปตอบรับเด็ดขาด คอลล์เซ็นเตอร์เหล่านี้มักจะอยู่ในอินเดีย เมื่อมีเรื่องมีราวก็สาวไปไม่ถึงต้นตอ คิดดูว่าเพียง 1% ของคนที่ตกเป็นเหยื่อโอนเงินแม้จะจำนวนเล็กน้อย แต่ถ้ามีหลายคนก็เป็นเงินก้อนมหาศาล และที่สำคัญอยากบอกว่าสลากกินแบ่งของต่างประเทศ ส่วนมากกฎหมายจะกำหนดบังคับจ่ายเฉพาะผู้อยู่ในประเทศเท่านั้น หมายความว่าคนต่างชาติเขาไม่จำเป็นต้องจ่ายก็ได้ ลองคิดดูเรื่องนี้แรงกว่าเล่นคาสิโนออนไลน์อีก เพราะคาสิโนเรายังตามจับได้ เนื่องจากถือเป็นการเล่นพนัน“ ผู้ช่วย.ผอ.สวทช. กล่าว

ดร.รอม กล่าวเพิ่มเติมว่า เวลานี้รูปแบบการหลอกลวงใหม่เข้ามาให้เห็นมากมาย เช่น จอร์เจีย แอทแทค ที่ทั่วโลกให้ความสนใจพูดถึงมาก เพราะคนที่ลงมือคือผู้ชำนาญที่มาจากยุโรปตะวันออก หรือประเทศที่แยกตัวจากรัสเซีย เมืองไทยคนถูกหลอกกันมากมายกับ เรื่องได้มรดกบ้าง ได้รับสิทธิ์โอนเงินเข้าบัญชีบ้าง คล้ายกับรูปแบบ “ไนจีเรียสแกม” ชื่อเหล่านี้มากจากปลายทางของการหลอกลวง รูปแบบการหลอกลวงลักษณะนี้ ผู้ไม่ประสงค์ดีลงทุนน้อยได้เงินมาก หากมีการทำเวอร์ชันภาษาไทยได้จะยิ่งไปกันใหญ่ ถือเป็นเรื่องที่ปล่อยไว้ไม่ได้ พวกนี้ยิ่งกว่าขอทาน เป็น 18 มงกุฎ ต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ

น่าสนใจมากสำหรับปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ ที่นับวันยิ่งสร้างความเสียหายให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และยังให้ภาพที่ไม่ดีต่อการตัดสินใจ เพื่อทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ตอีกด้วย โดยปัจจุบันภัยคุกคามจากแฮกเกอร์ไม่ได้มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน หรือมีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนอีกต่อไป แต่อาศัยความโลภ หรือ การรู้ไม่เท่าทันของตัวผู้ตกเป็นเหยื่อเอง หลอกกันซึ่งๆ หน้า ตามจับก็ไม่ได้

ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสนใจ เพราะเหยื่อส่วนมาก คือ ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่เป็นผู้ใช้เริ่มต้น คงต้องมาตามดูอีกทีว่าในทางกฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าพนักงาน ตาม พรบ.คอมฯ ฉบับล่าสุด จะดำเนินการกับผู้กระทำผิดเหล่านี้อย่างไร และผู้ร้ายบนโลกไซเบอร์จะมาไม้ไหนอีกในอนาคต เพราะวันนี้เดาไม่ได้เลยว่าพรุ่งนี้อีเมล์ที่อ่านอยู่เข้าข่ายหลอกลวงด้วยหรือไม่...
บทที่2
อาจารย์ให้เล่นเกมส์อักษรไข้
1.อุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณระหว่างแอนะล็อกกับดิจิทัล
คือ MODEM
2. ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวนผล
คือ DATA
3.โปรแกรมเฉพาะที่ช่วยให้อุปกรณ์รับ/ส่งข้อมูลสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์
คือDEVICEDRIUERS
4.คอมพิวเตอร์มือถือที่ใช้แพร่หลายที่สุด
คือ PDA
5. บริการบนอินเทอร์เนตที่ช่วยให้เข้าถึงทรัพยากรต่างๆโดยผ่านส่วนติดต่อแบบมัลติมีเดีย
คือ WWW
6.เครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก
คือ INTERNET
7.อุปกรณ์ทางกายภาพของไมโครคอมพิวเตอร์
คือ HARDWARE
8.ไฟล์ที่สร้างจากจากโปรแกรมประมวลผลคำ
คือ DOCUMENTFILES
9. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วด้วยคอมพิวเตอร์
คือ INFORMATION

10. กฎหรือแนวทางในการใช้ซอปแวร์ ฮาร์ดแวร์และข้อมูล
คือPROCEDURES
11.ชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
คือSOFTWARE
12.ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ผลิตงานต่าง
คือ ENDUSER
13. ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง
คือTABIET PC
14.ส่วนที่ทำหน้าที่ประสานงานกับทรัพยากรต่างๆของคอมพิวเตอร์

คือOPERATINASYSTEM
15.ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล
คือDATABASEFILES
16.องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ
คือ PEOPLE
17.อุปกรณ์ที่บรรจุด้วยชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์จำนวนมาก
คือ CHASSIS

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ข่าว IT
ไอซีทีเข้มติดตามผู้กระทำผิดกม.คอมพิวเตอร์
โดย ผู้จัดการออนไลน์2 พฤศจิกายน 2550 12:00 น.

กระทรวงไอซีที จับมือสำนักงานตำรวจแห่งชาติตรวจเข้มผู้กระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พร้อมขยายผลการให้ความรู้ภัยอันตรายของอินเทอร์เน็ตและเกมออนไลน์สู่โรงเรียนต่าง ๆ นายวินัย อยู่สบาย ผู้อำนวยการสำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ในปี 2551 กระทรวงไอซีทีจะเพิ่มความเข้มงวดการตรวจสอบ และปราบปรามผู้กระทำผิด หรือล่วงละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลและภาพที่ไม่เหมาะสม หรือมีลักษณะมอมเมาเยาวชนให้หลงผิด กระทรวงไอซีทีประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติทำการตรวจสอบเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมทั้งเตรียมปรับปรุงเครื่องมือและอุปกรณ์ให้มีความทันสมัย เพื่อเพิ่มศักยภาพการตรวจสอบให้ครอบคลุมมากขึ้น ขณะเดียวกันจะจัดทำโครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานเก็บและพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย นอกจากนี้ กระทรวงไอซีทีจะเร่งศึกษาแนวทางการบังคับใช้บทลงโทษและมาตรการทางกฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กับผู้กระทำผิดที่อยู่ในต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการบังคับใช้ข้อกฎหมาย และบทลงโทษผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดปัญหาความรุนแรงในการนำเสนอข้อมูลและภาพที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งปัญหาการขโมยข้อมูลต่างๆ ได้ในระดับหนึ่ง นายวินัย อยู่สบาย กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงไอซีทีกำลังจะประกาศตัวอย่างเป็นทางการภายในต้นเดือนธันวาคม 2550 นี้ เพื่อแจกจ่ายโปรแกรมเฮ้าส์คีปเปอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยสกัดกั้นเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ให้กับเด็กนักเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้นำไปใช้ โดยเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการเผยแพร่เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้เป็นอย่างดี
คำถามท้ายบทที่ 1
1.ระบบสารสนเทศคืออะไร และระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไรบ้าง

ระบบสารสนเทศ คือ การนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวม บันทึก ประมวลผล และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการและสนับสนุนการตัดสินใจ ในแต่ละวันข้อมูลข่าวสารได้เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครื่องมือเพื่อการสื่อสารในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ทั้งทางธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์ และการศึกษา ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ช่วยให้สารสนเทศกระจายไปยังผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและรวดเร็ว ทำให้องค์การต่าง ๆ ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้บริการลูกค้า และ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน

2. ข้อมูลกับสารสนเทศ และสารสนเทศกับความรู้ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ข้อมูลหมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล สารสนเทศคือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ส่วนความรู้คือการรับรู้และความเข้าใจในสารสนเทศจนถึงระดับที่สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ได้ก็คือ มีความเข้าใจ องค์ประกอบต่าง ๆ จนอาจสร้างเป็นทฤษฎี หรือเป็นแบบจำลองทางความคิด และสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้

3. ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศทั่ว ๆ ไปมีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของสารสนเทศทั่ว ๆ ไป มี 3 ส่วน คือ
1)ส่วนรับข้อมูล
2) ส่วนประมวลผล
3) ส่วนแสดงผล

4. ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (CBIS) คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ คือ การพัฒนาและประยุกต์เอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการสื่อสารมาใช้ควบคู่กับสานสนเทศ กลายเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น ระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการส่งข้อมูลและสารสนเทศถึงกันและกันได้ ซึ่งระบบดังกล่าวจะต้องประกอบด้วย6 ส่วนต่อไปนี้
1)ฮาร์ดแวร์
2) ซอร์ฟแวร์
3) ข้อมูล
4) การสื่อสารหรือเครือข่าย
5) กระบวนการทำงาน
6) บุคลากรที่จัดการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. จงยกตัวอย่างระบบใด ๆ มา 1 ระบบ พร้อมทั้งจำแนกส่วนประกอบและเป้าหมาย

ระบบสปา
ส่วนนำเข้า สมุนไพร วัตถุดิบ อื่น ๆ คนงาน และการจัดการ
ประมวลผล การปรุงสมุนไพร การบริการ
ผลลัพธ์ สมุนไพรที่ใช้ในสปา การบริการที่ดี
เป้าหมาย การเตรียมสมุนไพรที่เหมาะสมในสปา การบริการที่ดีและมีคุณภาพ